Planetarium_Ratthasat
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

โฟโตไดโอด (PHOTODIODE) คือ ไดโอดทำงานด้วยแสง เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำอีกชนิดหนึ่งที่ค่าความต้านทานภายในตัวไดโอดเปลี่ยนแปลงมากขึ้นหรือน้อยลง ขึ้นอยู่กับแสงที่ส่องมากระทบกับสารกึ่งตัวนำในตัวไดโอด โฟโตไดโอด มีขาต่อออกมา ใช้งาน 2 ขา คือขาแอโนด (A) และ ขาแคโถด (K)

  

                                                   

                                            (ก) โครงสร้าง                   (ข) สัญลักษณ์
                         รูปที่ 7.24 โครงสร้างและสัญลักษณ์ของโฟโต้ไดโอด

           จากรูปที่ 7.24 (ก) เป็นโครงสร้างของโฟโต
ไดโอด ประกอบด้วยสารกึ่งตัวนำ 2 ตอน เหมือนไดโอดธรรมดา เพียงแต่เพิ่มช่องรับแสงให้ผ่านเข้ารอยต่อของโฟโตไดโอด ทำให้สัญลักษณ์ของโฟโตไดโอดเหมือนสัญลักษณ์ของไดโอดธรรมดาและมีตัวแรมดา (l) หรือลูกศรชี้เข้ากำกับอยู่ด้วย แสดงดังรูปที่ 7.24 (ข)

  

                                

                                รูปที่ 7.25 รูปร่างจริงของโฟโตไดโอด

การต่อวงจรทำงานให้โฟโตไดโอด วงจรแสดงดังรูปที่ 7.26

 

                                    

                                 รูปที่ 7.26 การจ่ายไบอัสกลับให้โฟโตไดโอด

                 จากรูปที่ 7.26 เป็นการจ่ายไบอัสกลับให้โฟโตไดโอด ถ้าในขณะไม่มีแสงตก         กระทบตรงรอยต่อของโฟโตไดโอ โฟโตไดโอดจะไม่นำกระแส อาจมีเพียงกระแสรั่วซึมไหลผ่านเล็กน้อย ไม่ถือว่าเป็นกระแสที่โฟโตไดโอดทำงาน เมื่อมีแสงส่องมากระทบรอยต่อ PN ดัง         กล่าวจะเปลี่ยนเป็นพลังงานโฟตอน ไปทำให้ค่าแบตเตอรี่สมมติรอยต่อ หรือดีพลีชั่นริจินตรงรอยต่อลดค่าลงอย่างมากเกิดกระแสไบอัสกลับไหลผ่านรอยต่อของโฟโตไดโอดมากขึ้น กระแสไออัสกลับดังกล่าวจะไหลผ่านตัวโฟโตไดโอดได้มากน้อยจะถูกจำกัดค่าโดยโหลด R ที่ต่อในวงจร และขึ้นอยู่กับความเข้มของแสงที่มาตกกระทบโฟโตไดโอด

 

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 7,040 Today: 4 PageView/Month: 14

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...